พันธุ์ไม้จัดสวน
วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การออกแบบสวนไม้ผลในบ้าน
ไม้ผลและการจัดสวนดูแล้วจะเป็นสิ่งที่เข้ากันได้ยากในสายตาของผู้ออกแบบสวนเพราะลักษณะ
ของใบและทรงพุ่มของไม้ผลไม่สัมพันธ์กันกับไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป เมื่อปลูกเอาไว้ใกล้ๆ สวยหย่อม
แล้วมองดูขัดแย้งกันมาก ด้วยสาเหตุนี้เองทำ ให้เกิดปัญหาระหว่างเจ้าของบ้านและผู้ออกแบบ เพราะ
เจ้าของบ้านก็ชอบไม้ผลอยากจะปลูกมากๆ หลายชนิดในบ้าน แต่ผู้ออกแบบก็ไม่ยอม ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด
สำ หรับเรื่องนี้ คือ
ผู้ออกแบบควรอธิบายให้เจ้าของบ้านเข้าใจเสียก่อนว่า ไม้ผล 1 ต้นที่จะปลูกได้ใช้พื้นที่ไม่ตํ่ากว่า
20 ตาราเมตร หรือปลูกห่างกันประมาณ 5 เมตรต่อ 1 ต้น ตำ แหน่งต้นควรห่างกำ แพงอย่างน้อย 2.00
เมตร เพราะฉะนั้นจะปลูกมากมายหลายชนิดอย่างที่ต้องการไม่ได้ต้องดูพื้นที่เป็นหลักก่อนว่าเพียงพอ
หรือไม่ ไม้ผลที่ต้องการควรเลือกเฉพาะที่ชอบจริงๆ เพราะการปลูกไม้ผลให้ได้ผลทานทุกปี ดูเหมือนจะ
ง่าย แต่ไม่ใช่ ต้องคอยดูแลการให้นํ้า ตัดแต่งกิ่ง และพ่นยาอย่างเหมาะสม สำ หรับไม้ผลแต่ละชนิดไป
เช่นมะม่วงมีดอกมากแต่ไม่มีผลเสียเลย อาจเป็นเพราะมีแมลงรบกวนต้องพ่นยาป้องกันแมลงใช่วงนั้น
หรือถ้ารดนํ้ามากไปมะม่วงก็จะมีใบอ่อนมาแทนการมีดอกต้นชมพู่มีดอกมีผลแต่ไม่ได้ทานเพราะหนอน
หรือเพราะกระรอกเจาะทิ้งร่วงเต็มพื้น ทำ ให้สวนดูเลอะเทอะปรกต้องใช้วิธีห่อแต่ละลูกจึงได้ผลทาน
ไม้ผลบางอย่างใหญ่โตเกินไปที่จะปลูกในบ้าน เช่น กระท้อน สาเก และบางชนิดก็เป็นอันตราย
สำ หรับเด็กถ้าหล่นใส่ศรีษะ เช่น มะพร้าว
ไม้ผลบางชนิดปลูกไม่ได้เพราะอากาศไม่เหมาะสมกับพื้นที่ในกรุงเทพฯ เช่น มังคุด ทุเรียน
เงาะ ลิ้นจี่ เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การออกแบบสวนครัวในบ้าน
สวนครัวในบ้านนั้นเป็นที่นิยมมาก เพราะเจ้าของบ้านแต่ละแห่งต่างก็อยากจะปลูกพืชผักต่างๆ
เอาไว้เพื่อใช้สอยภายในบ้าน แม้ว่าจะมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยก็ตาม ทำ ให้การออกแบบสวนในบ้านต้อง
เกี่ยวเนื่องกับสวนครัวอยู่เสมอ ซึ่งการออกแบบสวนครัวที่ดี ง่ายในการดูแลรักษาและสวยงามมีดังนี้
พื้นที่ที่จะปลูกสวนครัวควรอยู่บริเวณด้านข้างหรือหลังบ้านใกล้ๆ กับส่วนซักล้างตากผ้าเป็นที่ได้
รับแสงพอสมควรอย่างน้อยครึ่งวัน เพราะถ้าร่มมากเกินไปก็จะปลูกสวนครัวไม่ได้ ถ้าได้รับแสงน้อยใน
พื้นที่แคบ จะปลูกได้เฉพาะพืชบางชนิดที่มีต้นสูง ขนึ้ รบั แสงได ้ เชน่ มะละกอ ขงิ ขา่ เปน็ ตน้
สวนครัวไม่ควรปลูกบริเวณสวนหย่อมด้านหน้าบ้านเพราะถ้าจัดสวนหย่อมด้วยสวนครัวแล้ว
ความสวยงามจะน้อยกว่าไม้ประดับทั่วไป เมื่อต้องการใชง้ านจะเดด็ มามากๆ ก็จะทาํ ให้ทรงพุ่มแหว่ง
สวนไม่สวยอีก อีกทั้งพืชสวนครัวมีลักษณะเหมือนไม้ป่า ใบไม่สวยมองดูแล้วคล้ายวัชพืช เช่น ตะไคร้
เหมือนหญ้าคา เป็นต้น
การออกแบบสวนครัว ให้คิดถึงแปลงปลูกผักแบบง่าย ๆ ที่ชาวสวนใช้กัน ส่วนใหญ่แปลงมัก
จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สามารถเดินเข้าไปปลูก รดนํ้าพรวนดิน และเก็บได้ง่าย ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้
ควรเน้นถึงทางเดินที่เข้าไปสู่แปลงสวนครัว โดยให้ทางเดินเป็นตัวกำ หนดรูปร่างของแปลงหลายแบบ
แตกต่าง ๆ กัน เช่น สี่เหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลม ทางเท้าจะช่วยให้รูปร่างของสวนครัวแน่นอน เมื่อมีการ
ใช้งานก็ยังเรียบร้อยดีไม่เกิดลักษณะหญ้าตายเป็นแนวข้างแปลงสวนครัว หรือถ้าสวนครัวหมดอายุต้อง
เปลี่ยนพืชไหม่ทางเท้าจะช่วยคงรูปให้สวนครัวสวยงามได้เหมือนเดิม มองดูเรียบร้อยกว่าที่เห็นแปลงดิน
รกร้างในสนามหญ้า ถ้าต้องการปลูกสวนครัวแบบที่ต้องอาศัยร้านเพื่อยึดเกาะ อาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น เอาไม้รวกมาปักและมัดติดกันเป็นตาราง เพื่อให้สวนครัวบางประเภทยึดเกาะติดได้ เช่น ฟักทอง แตงกวา ถั่วฟักยาว ตำ ลึง การทำ ร้านต้องให้แข็งแรงเหมาะกับพืชสวนครัวที่จะปลูกด้วย การเตรียมพื้นที่ปลูกสวนครัว ควรจะวาดรูปร่างของแปลงสวนครัวให้ได้ตามแบบก่อนแล้วกำ จัด
วัชพืชให้หมด โดยการพ่นยาฆ่าแมลงหรือเก็บต้นออกให้หมด ปรับแนวทางเดินขอบสวนครัวให้เรียบ
นำ ทรายมาเกลี่ยให้ได้ระดับ ปูทางเท้าให้ได้ตามแบบ พยายามอย่าให้แผ่นทางเดินโยกเยก จะทำ ให้แตกได้ง่ายควรเลือกใช้แผ่นทางเท้าที่ทนทาน เช่น ซีเมนต์ หินทราย เป็นต้น ปูให้ชิดกันตามแบบที่วางไว้แปลงสวนครัวที่อยู่ข้างในทางเท้าจะเป็นรูปร่างตามต้องการ ถ้าดินในบริเวณบ้านนั้นอัดตัวกันแน่นการ
ระบายนา้ํ ไมด่ คี วรจะวางทอ่ PVC 2-3 นวิ้ เจาะรโู ดยรอบ จากใต้แปลงสวนครัวไปออกยังท่อระบายนาํ้จะช่วยให้การระบายนํ้าในแปลงผักดีขึ้น หรือจะใช้วิธียกแปลงให้สูงกว่าทางเท้ารอบสวนครัวก็ได้
สวนครัวนอกจากปลูกในแปลงแล้ว ถ้าเจ้าของบ้านที่น้อยจึงนิยมปลูกในกระถางมากกว่า
เพราะประหยัดพื้นที่ เช่นปลูกมะกรูดใส่โอ่งมังกรใหญ่ ต้นก็จะสูงประมาณ 2 เมตร ถ้าพูดถึงการเก็บใบ
และผลมาใช้ก็นับว่าพอใช้ได้ ส่วนชนิดอื่นๆ ถ้าจะปลูกลงกระถางนั้นใช้ได้แทบทุกชนิด เพียงแต่ว่าต้องใช้กระถางขนาดพอเหมาะกับลาํ ตน้ ถา้ ตน้ โตตอ้ งคอยเปลยี่ นกระถางดว้ ย การเลยี้ งในกระถางตอ้ งคอยให้ปุ๋ยในกระถางด้วย
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สวนหย่อมริมทางเดิน
สวนจากหน้าบ้านผ่านไปยังหลังบ้าน สำ หรับบ้านที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ระยะทางเดินก็จะไกลทำ ให้
มีสนามหญ้าโล่งมากในบางโอกาสควรจะจัดสวนหย่อมใกล้ๆ กับทางเดินเพื่อให้ผู้ที่เดินผ่านไป
เพลิดเพลินในความสวยงามของต้นไม้และไม้ดอกต่างๆ ได้
การออกแบบสวนหย่อมริมทางเดินให้สังเกตที่รูปแบบของทางเดินเป็นหลัก ว่าเป็นเส้นโค้งหรือ
เส้นตรง ให้ออกแบบกลุ่มสวนหย่อม โดยยึดรูปร่างเส้นของทางเดินเป็นหลักออกแบบให้สัมพันธ์กันกับ
ทางเดินนั้นๆ และรูปร่างของสวนหย่อมต้องใกล้กับทางเดินพอสมควร เช่น เหลืองออสเตรเลียเป็น
ประธาน มีเทียนทอง เป็นไม้พุ่มกลาง หัวใจม่วง เป็นไม้พุ่มเตี้ย เน้นเรื่องสีเหลือง ทอง ม่วง ตัดกัน รูป
ร่างแปลงต้นไม้ให้มีเส้นโค้งที่รับกันกับทางเดินตำ แหน่งสวนหย่อมระหว่างทางเดินนี้ไม่ควรมีไม้ใหญ่ให้
ร่มเงาอยู่ใกล้ๆ เพราะจะทำ ให้แสงสว่างน้อยไป
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พรรณไม้สำหรับการจัดสวนถาด
เนื่องจากข้อจำกัดของภาชนะที่นำมาใช้ในการจัดสวนถาดนั้นจะเป็นภาชนะที่ค่อนข้าง
กะทัดรัด และมีความลึกจำกัดซึ่งต้นไม้นั้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างอิสระ ดังนั้นต้นไม้ที่ควร
เลือกนำมาใช้ในการจัดสวนถาดนั้นควรเป็นพรรณไม้ที่มีขนาดเล็ก แคระ หรือ ไม้ดัด ไม้บอนไซ
ปลูกเลี้ยงง่าย และสามารถทนทานได้ในพื้นที่ๆ แคบ นอกจากนี้เราควรคำนึงถึงกลุ่มของพรรณไม้
ที่นำมาใช้ในการจัดสวนถาดด้วย เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการดูแลรักษาให้คงอยู่ได้นาน
พรรณไม้ที่ใช้ในการจัดสวนถาดสามารถแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้
1. ไม้รูปทรง
2. ไม้ดอก
- ไม้ดอกชอบแสงจัด
- ไม้ดอกชอบแสงรำไร
3. ไม้ใบ
- ไม้ใบชอบแสงจัด
- ไม้ใบชอบแสงรำไร
4. ไม้เลื้อย
5. ไม้อวบน้ำ
6. ไม้น้ำ
7. กล้วยไม้
วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สวนธรรมชาติ (Naturalistic/ Informal Style)
สวนธรรมชาติ (Naturalistic/ Informal Style)
เป็นการจัดสวนที่ไม่อาศัยรูปทรงเรขาคณิต หรือลวดลายที่มีแบบแผนเฉพาะหรือหลักสมดุล 2
ข้างเท่ากันเป็นหลัก แต่เป็นการจัดวางองค์ประกอบ เลียนแบบธรรมชาติ ใช้สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เท่า
กันแทนการใช้ต้นไม้ ใช้ต้นไม้ 3 ระดับใหญ่ คือ ไม่ยืนต้นในตำ แหน่งที่ต้องการร่มเงา ไม่พุ่มและไม่
คลุมดิน เพื่อเสริมความงามและความต่อเนื่องที่ลดหลั่นกัน จากสูง กลาง ตํ่า โดยต้นไม้เหล่านี้จะถูก
ปล่อยให้เจริญเติบโตแผ่รูปทรงตามธรรมชาติ มีการตัดแต่งเพื่อการดูแลรักษาเป็นหลัก มิใช่การบังคับ
รูปทรงสนามหญ้า สนามหญ้าในสวนธรรมชาติกว้างขวางกว่าสวนประดิษฐ์และทำ เป็นเนินสูงตํ่าเลียน
แบบสภาพธรรมชาติได้ทางเดิน มักเป็นแนวเส้นคดโค้งไปตามของสนามเชื่อมตำ แหน่งกิจกรรมต่างๆ ใช้วัสดุที่กลมกลืนกับบรรยากาศโดยรวมสระนํ้า นํ้าตกและนํ้าพุ สระนํ้าและนํ้าตกเป็นการจำ ลองแบบมาจากธรรมชาติ มีรูปร่างคดเคียวไปมา ตกแต่งด้วยภูเขาหินก้อนและต้นไม้ ส่วนนํ้าพุมักใช้เพื่อระบายนํ้า เพื่อให้ออกซิเจนไหลผ่านนํ้าจะได้ไม่เน่าเสีย
รูปปั้นและวัสดุตกแต่งอื่น ๆ มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นประติมากรรม โอ่ง ไห ซากไม้
แห้ง ล้อเกวียน ฯลฯ จัดเป็นทั้งจุดเด่นตามมุมต่าง ๆ ในสวน
ศาลาและซุ้ม มีการตกแต่งประดับประดาไม่วิจิตรเท่าสวนประดิษฐ์ เป็นไปตามบรรยากาศ
ของสวนหรือตัวสถาปัตยกรรมในบริเวณใกล้เคียง
ข้อดีข้อเสียของสวนธรรมชาติ
ข้อดี
1. กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เหมาะกับอาคารที่ต้องการบรรยากาศธรรมชาติ เช่น ที่พักตาก
อากาศ บ้านพักอาศัย สถานที่ท่องเที่ยว
2. การดูแลรักษาตำ กว่าสวนแบบประดิษฐ์
3. มีความงามที่เปลี่ยนไปตามการเจริญเติบโตของพรรณไม้ และตามฤดูกาล
ข้อเสีย
ผู้ออกแบบต้องมีความสามารถทางศิลปะและการใช้ต้นไม้ เพื่อจัดวางตำ แหน่งชนิดพรรณไม้
ให้สวยงามเหมาะตามหลักสมดุลแบบ 2 ข้างไม่เท่ากัน
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ไม้รูปทรง ชาฮกเกี้ยน(ชาดัด)
ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่ม |
ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2.5 เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ มักออกเป็นกระจุกตามกิ่งสั้น ๆ รูปไข่กลับแคบ ปลายแยกเป็นพูแหลม |
3-5 แฉก ปลายพูมักเป็นติ่งหนามอ่อน โคนใบรูปปลิ่ม หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันขรุขระเล็กน้อย ท้องใบสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามชอกใบ |
ดอกย่อย 2-5 ดอก กลีบเลียง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน ด้านนอกมีขนยาวประปราย โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เล็กน้อยเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม |
แคบ ปลายมน ผลรูปกลม สีส้มแดง |
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ทำแนวรั้ว บอนไซ |
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง |
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สวนประดิษฐ์ (Formal Style)
สวนประดิษฐ์ (Formal Style)
เป็นการจัดสวนที่วางผังโดยใช้รูปทรงเรขาคณิต และการจัดแบบสมดุลกันทั้งซ้ายและขวาเป็นหลัก บางครั้งก็ใช้ลวดลายเครือเถา หรือลวดลายประดิษฐ์อื่นๆ เน้นรูปร่างและสีสันของแปลงไม้ดอก
ไม้ประดับ ประดับด้วยเครื่องแต่งสวนพวก รูปปั้น นํ้าพุ กระถางต้นไม้หรือการตัดแต่งต้นไม้เป็นรูป
ทรงต่างๆ
การใช้ต้นไม้ ต้นไม้ที่ใช้ในสวนประดิษฐ์ต้องเป็นไม้ที่สามารถตัดแต่งได้ แบ่งเป็น 3ประเภท
คือ
1. ไม้สูง ใช้ตรงกลางแปลงหรือมุมแปลง เพื่อไม่ให้แปลงดูแบบราบ ชนิดของไม้ที่ใช้ ได้แก่
ข่อย ตะโก แก้ว โมก สนชนิดต่างๆ จะไม่ใช้ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ยกเว้นสวนประดิษฐ์ขนาดใหญ่มากๆ
เช่น ปลูกสองข้างถนน
2. ไม้เตี้ย ใช้แสดงรูปทรงของแปลงของแปลงให้ชัดเจนขึ้น ควรมีสีสันตัดกับไม้สูงที่อยู่กลาง
แปลงมีความสูงไม่ต่างกับำ ม้สูงมากนัก หรือใช้หลายชนิดลดหลั่นกัน
3. สนามหญ้าหรือแปลงกรวด เป็นส่วนเสริมให้ลวดลายแปลงของสวนประดิษฐ์เด่นชัดยิ่งขึ้น
ทางเดิน ต้องกำ หนดพร้อม ๆ กับการออกแบบแปลงต้นไม้เพื่อให้กลมกลืนกัน อาจมีรอบนอก
สวนหรือแทรกเข้าไปเป็นลวดลายส่วนหนึ่งของแปลงด้วย ลักษณะทางเดินจะราบเรียบไม่มีการเปลี่ยน
ระดับสระนํ้าและนํ้าพุ ตำ แหน่งของสระนํ้าและนํ้าพุมักเป็นจุดเด่นกรือจุดเด่นรองกระจายอยู่ภายใน
สวน รูปร่างของสระนํ้ามักเป็นเรขาคณิตเช่นกัน ส่วนนํ้าพุมักประกอบอยู่กับรูปปั้นที่สื่อความหมาย
เฉพาะของแต่ละสวนหรือเพื่อการตกแต่งเพียงอย่างเดียว
รูปปั้น ใช้เป็นจุดเด่นหรือประดับอยู่ตามมุมต่างๆ ของสวนประดิษฐ์ มีรูปแบบตามยุคสมัย
เนื่องจากสวนประดิษฐ์มีต้นกำ เนิดในยุโรป จึงมักตกแต่งด้วยรูปปั้นตัวละครในเทพนิยายของชาวตะวัน
ตก รอบๆ รูปปั้นมักแต่งด้วยไม้ดอกหรือไม้พุ่ม
ศาลาและซุ้ม ใช้เป็นจุดเด่นหรืออยู่มุมสวนเป็นที่สังสรรค์หรือผักผ่อน มักได้รับการตกแต่งอย่าง
ประณีตสวยงาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)